วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สูตรอาหารไทย : ต้มยำกุ้ง 

อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
* กุ้งขนาดกลาง 12 ตัว (ปอกเปลือก, ทำความสะอาด)
* เห็ดฟาง 10 อัน
* ตะไคร้ 1 กำ
   (ทุบให้แหลกและหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 2")
* ใบมะกรูด 3 ใบ
* เกลือ 1 ช้อนชา
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกขี้หนู 6 เม็ด (ทุบพอให้แหลก)
* น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง
* ผักชี 1/2 ถ้วยตวง (หั่นหยาบ)
สมุนไพรไทย : ตะไคร้
อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง

 
     วิธีทำทีละขั้นตอน
1. ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง
2. นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ
3. หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และ้นำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)


 

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 

กาพย์ยานี


















ได้ชื่อว่ายานี ๑๑ เพราะ จำนวนพยางค์ใน ๒ วรรค หรือ ๑ บรรทัด
รวมได้ ๑๑ พยางค์
๑ บท มี ๔ วรรค วรรคหน้า ๕ พยางค์ วรรคหลัง ๖พยางค์

สัมผัสระหว่างวรรค
ใน ๑ บท มีสัมผัส ๒ คู่ สังเกตจากแผนผัง...อ่านต่อที่นี่
  

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

http://poonudom.khonmuang.com/images/kalong.gif 









โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรกและมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ
สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน อ่านต่อที่นี่

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ กำลังรอดูผลการประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.)ว่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องข้อสอบผิดพลาด ซ้ำซากได้อย่างไร...อ่านต่อที่นี่